วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557

การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพน้ำยางพารา



การใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลิตภาพน้ำยางพารา


บทนำ
          ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ปริมาณความต้องการใช้น้ำยางพาราสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศนับวันจะเพิ่มขึ้น การแนะนำส่งเสริมการใช้จุลินทรีย์ที่ผลิตและ

รับรองมาตรฐานโดยกรมพัฒนาที่ดินเพื่อเพิ่มคุณภาพและผลผลิตน้ำยางพารา เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
ที่เป็นทางเลือกของเกษตรกรในการเพิ่มผผลิตและรายได้ของผู้ปลูกยางพาราเนื่องจากจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ในการเพิ่มผลิตภาพของน้ำยางพารา สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน และมีการทดลอง
ที่เชื่อถือได้ว่า เชื้อจุลินทรีย์ที่รับรองโดยกรมพัฒนาที่ดิน เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมเชื้อสาเหตุของโรคราก และโคนเน่าในไม้ผล
ประโยชน์จากการใช้จุลินทรีย์ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตภาพน้ำยางพารา
1)
 การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน  โดยการใส่ปุ๋ยหมักและนำเศษใบยางพารารักษาความชื้นของดิน และปรับปรุงบำรุงดิน

            1.1 วิธีการผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่ง พด. 1 มีส่วนผสมในการผลิตปุ๋ยหมัก คือ

- ใบยางพาราที่ร่วงหล่นหรือวัสดุเศษพืช 1 ตัน
-
มูลสัตว์ 200 กิโลกรัม
-
ปุ๋ยยูเรีย 2 กิโลกรัม สารเร่ง พด. 1 จำนวน 1 ซอง (100 กรัม)


วิธีการใส่ปุ๋ยหมัก

- ช่วงการเจริญเติบโต ใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกยางพารา อัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
-
ช่วงก่อนเปิดและหลังปิดกรีดยาง ใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกยางพาราอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่
         1.2 การนำเศษใบยางพารามาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
         
โดยนำใบยางพาราที่ร่วงหล่นลงดินรวบรวมมาวางเป็นแถวใหญ่ระหว่างแถวของ
ต้นยางพาราเพื่อรักษาความชื้นของดิน พร้อมทั้งฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำลงในใบยางพาราเพื่อให้ย่อยสลายเร็วขึ้น และเป็นอินทรียวัตถุสำหรับปรับปรุงบำรุงดินต่อไป
2)
การป้องกันโรครากและโคนเน่า
          โดยใช้ส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 ที่ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักแล้ว สารเร่ง พด.3 ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชในดินสามารถนำมาเพิ่มผลิตภาพน้ำยางพาราได้การใส่พร้อมกับการใส่ปุ๋ยหมักในข้อ 1) ดังนี้
          
ขยายเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยใช้สารเร่ง พด. 3 มีส่วนผสมในการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืช คือ
-
ปุ๋ยหมัก 100 กิโลกรัม
-
รำข้าว 1 กิโลกรัม
-
สารเร่ง พด. 3 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้ระยะเวลาในการขยายเชื้อในกองปุ๋ยหมักเป็นเวลา 7 วัน
วิธีการใช้ส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 คือ หว่านส่วนผสมของสารเร่ง พด. 3 ที่ขยายเชื้อในปุ๋ยหมักแล้ว ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักระหว่างแถวปลูกของยางพารา1
3)
การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.2
ผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยใช้สารเร่ง พด. 2 ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำมีส่วนผสมคือ
-
เศษเนื้อสัตว์และผลไม้หรือเศษผักผลไม้ 40 กิโลกรัม
-
กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม น้ำ 10 ลิตร
-
สารเร่ง พด. 2 จำนวน 1 ซอง (25 กรัม) ใช้ระยะเวลาหมัก 21 วัน
  
วิธีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ผลิตจากสารเร่ง พด.
-
ช่วงเปิดกรีดยาง ฉีดพ่นหรือรดปุ๋ยอินทรีย์น้ำลงดินระหว่างแถวปลูกยางพารา อัตราเจือจาง 1 : 200 ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม พฤศจิกายน ทุก 2 เดือน
-
ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำ อัตราเจือจาง 1 : 500 ที่ลำต้น ตั้งแต่โคนต้นจากพื้นดินสูงขึ้นมาประมาณ 2 เมตร (ช่วงบริเวณที่กรีดยาง) ทุก 2 เดือน การฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จะทำให้
ผิวหน้ายางอ่อนง่ายต่อการกรีด และปริมาณน้ำยางออกมาเพิ่มขึ้น
-
ช่วงปิดกรีดยาง ฉีดพ่นปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตราเจือจาง 1:500 ลงบนพื้นที่ที่ผิวของลำต้นที่มีการกรีดยางแล้ว จะทำให้ผิวหน้ายางปิดเร็วขึ้น และสามารถใช้กรีดยางได้ในโอกาสต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
ทำดังนี้แล้วจะทำให้ดินร่วนทรุย อุ้มน้ำได้ดี ทำให้ดินบริเวณสวนยางชุ่มชื้น ต้นยาง
มีการเจริญเติบโตดี การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำไว้ใช้เองทำให้ลดต้นทุนการผลิตและได้ผลิตภาพ
น้ำยางพารามากขึ้น เกษตรกรมีรายได้และกำไรมากขึ้น
                                                                                                                                                                                            ขอขอบคุณข้อมูลจาก

กลุ่มระบบงานวิจัย กองแผนงาน
ร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนาอินทรียวัตถุเพื่อการเกษตร
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

คำขวัญ ท่านชุบ มุนิกานนท์

คำขวัญ
ท่านชุบ  มุนิกานนท์
ผู้ก่อตั้งองค์การสวนยาง และอดีตผู้อำนวยการองค์การสวนยาง




พ่อเจ้า              แก่แล้ว                 แก้วตา
พ่อมา                          สร้างทุก               สิ่งสรรพ
ยางดี                           สร้างใน               ไพรวัลย์
เพื่อให้                         เจ้านั้น                  อยู่กิน
พ่อฟัน               พ่อฝ่า                  ความยาก
หนามขวาก                    พ่อริด                  ปลิดสิ้น
พ่อภาค                         ภูมิใจ                  ในดิน
องค์การ                         ปานถิ่น               นอนตาย
ลูกพ่อ                ข้อแข็ง                แกร่งกล้า
พิทักษ์                          รักษา                  เชื้อสาย
อย่าได้                          แตกแยก              ทำลาย
พวกเรา                         ใช่ควาย               ขวิดกัน
พ่อสร้าง              ลูกล้าง                ถูกหรือ
ควรถือ                          เป็นสัตย์               คำมั่น
ลูกพ่อ                           จะฟัด                  กัดฟัน
เติมต่อ                          ความฝัน               พ่อไป
พ่อสร้าง              เพื่อให้                 ลูกอยู่
ลูกสร้าง                         เพื่อผู้                   เกิดใหม่
เหยียบรอย                     เดียวกัน                 มั่นใจ
ลูกไทย                          ชาติไทย              ไพบูลย์


วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน ป้อนโรงงานยางแท่ง


                

การผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี

cuplump01
ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตยางก้อนถ้วย

cuplump02
ลักษณะของยางก้อนถ้วยคุณภาพดี

cuplump03
- ควรเป็นยางก้อนที่สะอาด  ไม่มีสิ่งปลอมปน
- ใช้กรดในการจับตัว
- มีรูปทรง สัณฐานใกล้เคียงกับรูปถ้วยรับน้ำยาง
การเตรียมกรด

cuplump04
- กรดฟอร์มิคเข้มข้น 2  ช้อนแกง (30 CC) ผสมน้ำ 3 กระป๋องนม  (900 CC) จะได้Conc. 3%
- บรรจุในขวดพลาสติกที่ฝาปิดเจาะรู เช่น   ขวดน้ำ   ขวดน้ำกลั่น

วันกรีดที่ 1
cuplump06
กรีดยางจากต้นแรกจนถึงต้นสุดท้ายของแปลงกรีด ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
cuplump07

ย้อนกลับมาต้นแรก บีบสารละลายกรดลงในถ้วยน้ำยาง ประมาณ 1 ช้อนแกง (15 CC)ใช้ไม้สะอาดคน ยางจะจับตัวเป็นก้อนในเวลาไม่เกิน 45  นาที

วันกรีดที่ 2
cuplump08\
ยางจะจับตัวเป็นก้อนที่สมบูรณ์ ให้จับก้อนยางตะแคงเพื่อให้เซรุ่มไหลออกมา
อาจเก็บก้อนยางใส่ในภาชนะที่สะอาด
cuplump09
กรีดยางเช่นเดียวกับวันแรก เดินย้อนกลับมา บีบสารละลายกรดในปริมาณครึ่งหนึ่งของวันแรก
(1/2 ช้อนแกง)

วันที่ 3

- หยุดกรีดเพื่อเก็บยาง ก้อนถ้วยในภาชนะที่ สะอาด
cuplump10

- เมื่อเก็บแล้วให้คว่ำถ้วย
cuplump11
-  น้ำเซรุ่มสาดไประหว่าง  แถวยางหรือเทใน  ภาชนะแล้วนำไปเทในที่ ที่เหมาะสม
ในวันที่ 4-5   (วันกรีดที่ 3-4)
cuplump12
จะกรีดยางเพื่อสะสมก้อนยางและปฏิบัติการผลิตยางก้อนถ้วยเช่นเดียวกับวันที่ 1 – 2  ก็ได้

วันที่ 6

- เก็บยางก้อนถ้วยในภาชนะที่สะอาด
cuplump13
- หลังจากเก็บแล้วให้คว่ำถ้วย
cuplump14
- นำยางก้อนถ้วยไปผึ่งบริเวณที่สะอาด
cuplump16
คำจำกัดความของยางก้อนถ้วย
- ยางก้อนถ้วยสด
1. มีอายุของยางก้อนถ้วย  1 – 3  วัน
2 .ผิวของก้อนยางมีสีขาวจนถึงสีขาวขุ่น  มีระดับความชื้นระหว่าง  45 – 55%
3. มีรูปทรงสัณฐานใกล้เคียงรูปถ้วยรับน้ำยาง
4. ผิวของยางก้อนถ้วยมีความนุ่ม
- ยางก้อนถ้วยหมาด
1. มีอายุของยางก้อนถ้วย 4 – 7  วัน
2. ผิวของก้อนยางมีสีขาวขุ่นถึงสีน้ำตาลอ่อน
3. ยางก้อนมีระดับความชื้นระหว่าง  35 – 45 %
4. เป็นยางก้อนที่ไม่มีของเหลวไหลออกจากก้อนยาง
5. ผิวของยางก้อนถ้วย มีความนุ่มจนถึงกึ่งแข็ง
- ยางก้อนถ้วยแห้ง
1. มีอายุของยางก้อนถ้วยมากกว่า  7  วัน
2. ผิวของก้อนยางมีสีน้ำตาลเข้ม
3. ยางก้อนถ้วยมีระดับความชื้นน้อยกว่า  35 %
4. ผิวของยางก้อนถ้วยมีความแห้ง  แข็ง
cuplump17
cuplump18
ปัญหาที่พบในการผลิตยางก้อนถ้วยของเกษตรกร

cuplump19
1. ไม่ใช้กรดในการจับตัวยาง ทำให้ยางเปื่อยยุ่ย ค่าความอ่อนตัว (Po) ต่ำกว่ายางที่จับตัวด้วยกรด ก้อนยางมีกลิ่น
เหม็นเน่า
2. มีการใช้สารชนิดอื่นเพื่อจับตัวยางเช่น  ปูนขาว Ca(OH)2 , CaO, CaCl2 ,น้ำจากเปลือกผลไม้บางชนิดเช่นละมุด
เป็นต้น

cuplump20
4.  ใส่ขี้เปลือกลงในถ้วยยางผสมกับน้ำยางสดในระหว่างขั้นตอนการผลิตยางก้อนถ้วย

cuplump21

5.  มีเศษดิน ทรายใบไม้ติดกับยางก้อนระหว่างการเก็บที่มักวางบริเวณโคนต้นยางหรือระหว่างการจำหน่าย
6. ใส่น้ำในถุงบรรจุยางก้อนถ้วยก่อนนำไปจำหน่าย
7. โดนลักขโมย
8. ต้นยางเกิดอาการเปลือกแห้งจากการใช้กรด (ยังไม่แน่ชัด)
9. ผูกขาดซื้อจากพ่อค้าเร่  ทำให้ไม่มีโอกาสต่อรองราคา
10. บางจุดไม่มีตลาดรับ ซื้อยางก้อน
11. ได้ราคาที่ไม่เป็นธรรม ในเรื่องการตีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นจากพ่อค้


ผลิตยางก้อนถ้วยมาตรฐาน ป้อนโรงงานยางแท่ง

   

    ยางก้อน หรือยางก้อนถ้วย คือ 
ยางที่เมื่อกรีดได้น้ำยางแล้วจะใส่สารเคมีและจับตัวเป็นก้อน


        เศษยางหรือขี้ยาง คือยางเส้น ยางก้นถ้วย ขี้ยางต่างๆ ทำให้ยางก้อนถ้วยต่างจากขี้ยาง


          ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่มาแรงในขณะนี้ เพราะราคายางอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จึงเป็นเหตุจูงใจให้เกษตรกรปลูกยางจนเกินโควตา ประกอบด้วยเพราะสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและตลาดโลกที่กำลังเจริญเติบโต มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางและอื่น ๆ การพัฒนายางของไทยจึงต้องรุกให้ทันต่อกระแสโลก โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ผลิตยางเป็นเกษตรกรระดับรากหญ้า ซึ่งเป็นระดับต้นน้ำที่สำคัญที่ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพก่อน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระดับกลางน้ำและปลายน้ำ การพัฒนาการผลิตยางให้เกษตรกรได้มีทางเลือก นอกจากผลิตยางแผ่นดิบแล้ว ยางก้อนถ้วยก็เป็นการผลิตอีกรูปแบบหนึ่งที่จะพัฒนาให้มีคุณภาพได้เช่นกัน เพื่อเป็นวัตถุดิบนำไปผลิตยางแท่ง STR ที่มีคุณภาพสูง แต่มีต้นทุนการผลิตต่ำเพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดยางแท่งที่นับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

           ปัจจุบันการผลิต ยางก้อนถ้วย ของเกษตรกรได้มีการผลิตแพร่หลายในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดหนองคายได้รวมกลุ่มผลิตจำนวนมาก  เกษตรกรโดยเฉพาะในแหล่งปลูกยางใหม่ผลิตยางก้อนถ้วยเป็นทางเลือก เนื่องจากผลิตง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้เวลาและแรงงานน้อย การผลิตยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพจะต้องมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สะอาด สีสวย ไม่มีสิ่งปะปนและไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำหนักประมาณ 80-500 กรัม

          การผลิตยางก้อนถ้วยมีอยู่ 2 วิธี    คือ


         1. วิธีหยอดน้ำกรดลงในถ้วยน้ำยางปล่อยให้จับตัวตามธรรมชาติ (เป็นวิธีที่แนะนำ)

         2. วิธีหยอดน้ำกรดลงในถ้วยน้ำยางแล้วคน (เป็นทางเลือก) มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ น้ำกรดฟอร์มิคเจือจาง 10% (น้ำกรดฟอร์มิค 10 ส่วนผสมน้ำ 90 ส่วน) ถังแกลลอน และขวดฉีดน้ำกรด โดยมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

       วิธีที่ 1 หยอดน้ำกรดแล้วปล่อยให้จับตัวตามธรรมชาติ ก่อนอื่นให้เตรียมทำน้ำเซรุ่มที่ได้จากการกรีดแล้วปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนในถ้วย 2 วัน วันรุ่งขึ้นจึงเริ่มกรีดเพื่อผลิตยางก้อนถ้วย โดยแคะเอายางก้อนขึ้นเสียบที่ลวด จะเห็นน้ำเลี้ยงเซรุ่มอยู่ก้นถ้วย ให้หยอดน้ำกรดฟอร์มิคเจือจาง 10% บีบ 1 ครั้ง (ประมาณ 12-15 ซีซีต่อต้น) ลงในถ้วยที่มีน้ำเลี้ยงเซรุ่ม จากนั้นลอกขี้ยางเส้นออก แล้วกรีดอย่าให้ขี้กรีดยางตกในถ้วย กรีดไปจนครบทั้งแปลง จึงกลับมาเก็บยางก้อนที่เสียบลวดไว้ใส่ภาชนะ ส่วนยางที่กรีดปล่อยให้จับตัวเป็นก้อนในถ้วย แล้วมาเก็บในวันกรีดถัดไป จากนั้นให้เก็บก้อนยางรวบรวมใส่กระสอบปุ๋ยหรือถุงตาข่ายไนลอนแล้วนำมาผึ่งเกลี่ยบนแคร่ไม้ยกพื้น หรือชั้นแคร่เหล็กในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน
        วิธีที่ 2 หยอดน้ำกรดแล้วคน โดยลอกขี้ยางเส้นออกจากหน้ากรีดก่อน เช็ดถ้วยยางให้สะอาดก่อนรองน้ำยาง กรีดยางตามปกติจนครบทั้งแปลง เมื่อน้ำยางหยุดไหลให้หยอดน้ำกรดด้วยการบีบ 1 ครั้ง แล้วคนให้เข้ากันปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนถ้วย แล้วค่อยมาเก็บในวันกรีดถัดไป วิธีนี้จะใช้เวลาและแรงงานมากกว่าวิธีแรก แต่น้ำยางจับตัวเร็วกว่าภายใน 1 ชั่วโมง และไม่ต้องเตรียมทำน้ำเลี้ยงเซรุ่ม จึงเหมาะที่จะผลิตยางก้อนถ้วยในฤดูฝน หรือในพื้นที่ที่มีฝนตกชุก
        ทั้ง 2 วิธีนี้แม้จะเป็นเกษตรกรมือใหม่  ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะสถาบันวิจัยยางได้กำหนดมาตรฐานการผลิตยางก้อนถ้วยเพื่อใช้เป็นแนวทางให้เกษตรกรปฏิบัติ ยางก้อนถ้วยที่ดีจะต้องเป็นยางที่กรีดแล้วปล่อยให้น้ำยางจับตัวในถ้วยด้วยการหยอดน้ำกรดหรือจับตัวตามธรรมชาติ กรดที่ใช้เป็นกรดฟอร์มิคหรือกรดอะซิติค ยางก้อนถ้วยที่ผลิตได้ต้องสะอาด ไม่มีสิ่งปลอมปน เช่น เปลือกกรีด เศษไม้ กรวด หิน ดิน ทราย และมีสีตามธรรมชาติ มีน้ำหนักประมาณ 80-500 กรัม มีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ยางก้อนถ้วยที่เหมาะต่อการซื้อขายควรมีอายุไม่เกิน 4 วัน มีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหากเกษตรกรสามารถผลิตยางก้อนถ้วยให้ได้มาตรฐานที่แนะนำนี้ จะทำให้เกษตรกรขายได้ในราคาสูง และมีผลดีต่อการผลิตยางแท่งเพื่อการส่งออกด้วย

การซื้อขายยางก้อนถ้วย 

       สำหรับการซื้อขายยางก้อนถ้วย พ่อค้าจะประเมินราคาจากเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่อยู่ในก้อนยาง โดยยางกรีด 2 มีด แล้วนำไปผึ่งไว้นาน 3 วัน ยางก้อนถ้วยจะมีความชื้นเฉลี่ย 45% มีปริมาณเนื้อยางแห้ง 55% ซึ่งจะคิดราคาอ้างอิงจากราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เป็นหลัก ถ้ายางก้อนถ้วยสกปรก หรือมีขี้เปลือกและสิ่งปะปน จะถูกหักราคากิโลกรัมละ 5-10 บาท ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของสิ่งปะปน ดังนั้น เกษตรกรควรผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนสูง ทั้งยังช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยางแท่งของไทยเกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น